วิเคราะห์แก่นเรื่องในวรรณกรรมเรื่องหม้อที่ขูดไม่ออก
แก่นเรื่องในวรรณกรรมเรื่องหม้อที่ขูดไม่ออก
นางสาวเจษรินทร์ ประวันเตา
หม้อที่ขุดไม่ออกเป็นหนึ่งในรวมเรื่องสั้นอัญมณีแห่งชีวิตของอัญชัญซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือรางวัลซีไรต์
ประจำปี พ.ศ. 2533 ผู้เขียนได้นำเสนอ แก่นเรื่องอันเป็นสารัตถะของเรื่องนี้ผ่านการกระทำของตัวละคร
โดยมีลักษณะเป็นแก่นเรื่องแสดงพฤติกรรม
แนวคิดหลักหรือแก่นเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งนำเสนอให้ผู้อ่านทราบ
คือ อุปนิสัยของมนุษย์ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดหรือการกระทำซ้ำๆ
จนเป็นนิสัยถาวรหรือที่เรียกันว่าสันดานนั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้เปรียบเสมือนหม้อที่ขูดไม่ออกเมื่อมีเขม่าควันสีดำติดเกาะแล้วย่อมไม่สามารถทำให้ขาวสะอาดได้ดั้งเดิม
เห็นได้ชัดจากพฤติกรรมของตัวละครในเรื่องผู้เป็นสามีมีพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์เป็นคนขี้ตระหนี่
อารมณ์ร้าย กดขี่กระทำกับผู้เป็นภรรยาของตนอย่างทารุณกรรม ไร้ซึ่งความมีเมตตาต่อภรรยาและลูกหรือแม้กระทั่งสัตว์เล็กๆในบ้าน
เขาเติบโตขึ้นมาจากครอบครัวของผู้ที่มีฐานะต้อยต่ำแร้นแค้นทั้งทรัพย์สินหรือวงศ์ตระกูล
ต้องปากกัดตีนถีบเพื่อต่อสู้ จนไต่ระดับมาเป็นผู้มีฐานะถึงรองผู้จัดการธนาคารได้
ความแร้นแค้นขาดซึ่งครอบครัวญาติพี่น้องคอยอุ้มชูเกื้อหนุน หล่อหลอมให้เขากลายเป็นคนไร้ความเกื้อกูลผู้อื่น
ตระหนี่ขี้เหนียวไม่ยอมเสียเปรียบใคร อารมณ์ร้ายและ ตีค่าทุกสิ่งเป็นเงินตรา
ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ภรรยาของเขาทำข้าวของเครื่องใช้ในบ้านเสียหาย
เขามักจะด่าทอและทำร้ายร่างกายเหมือนว่าเธอไม่มีชีวิตจิตใจ
เพียงแค่การทำหม้อที่เขาซื้อมาไหม้เป็นคราบเขม่าจับ
เขาก็ทำร้ายเธอจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด
“หล่อนรู้สึกว่าตัวเองถูกลากลู่ถูกังไปที่หน้าต่าง
แล้วก็ถูกสามีจับเหวี่ยง
ออกไปกระทบกับหน้าต่างใหม่ได้ยินเสียงเขากระทบบานหน้าต่างมุ้งลวดถ่างออก
โดยแรงแล้วก็กระชากหัวหล่อนออกไปให้พ้นตัวขอบหน้าต่างจนสุดเอว
หล่อนตาเหลือกตาลานด้วยความรักชีวิต
แต่ก็สิ้นแรงขัดขืน”
อัญชัญ
พฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาไม่เคยเปลี่ยนแปลง
แม้นำมาซึ่งความชอกช้ำและความเกลียดชังในตัวเขาสู่ผู้เป็นภรรยามากแค่ไหนก็ตาม ดังแนวคิดที่ว่า
“หม้อที่ขูดไม่ออกฉันใดสันดานของมนุษย์ย่อมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ฉันนั้น”
ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น ในอีกแง่มุมหนึ่งผู้เขียนต้องการนำเสนอแนวคิดเพื่อสะท้อนสังคมในระบบของสังคมไทยสมัยก่อน
ว่าด้วยสถาบันครอบครัวนั้น ผู้ชายมักมีบทบาทหน้าที่และ
อำนาจเหนือกว่าผู้หญิง ภรรยานั้นต้องปรนนิบัติและอยู่ภายใต้อาณัติสามี
ยกตัวอย่างเช่น
“ชั้นแต่เรื่องใกล้ตัวที่สุดภายในครอบครัว
หล่อนก็เป็นฝ่ายเสียสละเพื่อ
ความเป็นช้างเท้าหน้าของสามี
ในขณะที่คมขวานจากวาจาเขา เฉือนหล่อนอยู่
เป็นเนื่องนิจกระทั่งชีวิตจิตใจของหล่อนแทบจะโคล่นล้มหลายคราว
หล่อนได้อ่อน
ข้อยอมตกเป็นเบี้ยล่างให้สามีมาตลอดขณะที่ได้กินอยู่ด้วยกันอย่างลุ่มๆดอนๆ
เหมือนไม้อ้อคอยเอนลู่ให้กับฝนฟ้าของผัว”
อัญชัญ
นอกจากนี้เรื่องหม้อที่ขูดไม่ออกยังสะท้อนให้ผู้อ่านเห็นถึงความแตกต่างของมนุษย์อันเป็นอีกหนึ่งสารัตถะของเรื่อง
ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ พื้นฐานชีวิต การอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม
ประสบการณ์ชีวิตย่อมส่งผลต่อบุคลิกและอุปนิสัยของบุคคล เช่น
“ฝ่ายหล่อนเติบโตมาจากครอบครัวของคนรุ่นเก่าผู้พอมีอันจะกินจากหลัก
ทรัพย์ที่สะสมตกทอดกันมาหล่อนเป็นลูกสาวคนสุดท้องที่กำพร้าบิดาตั้งแต่เล็กๆจึง
ถูกถนอมอุ้มชูเป็นพิเศษพ้นจากการไต่ตอมของมดแมงและแดดลมฝนฟ้าที่อาจจะนำ
ซึ่งพิษและภัยมาสู่
หล่อนจึงมักคุ้นกับความร่มเย็นเป็นสุขสบายในอัตภาพนั้นจนไร้
ความกระตือรือร้นกับทุกข์สุขอันจะมีมาในภายหน้า”
อัญชัญ
การได้รับการเลี้ยงดูที่อุ้มชูมากเกินไปย่อมก่อมเกลาให้บุคคลนั้นอ่อนแอต่อโลกภายนอก
เมื่อออกมานอนเขตที่เคยอภิบาลของพ่อแม่
จึงไม่สามารถต่อสู้กับด้านมืดในโลกความเป็นจริง
มนุษย์อีกร้อยพ่อพันแม่ที่มีทั้งดีและร้าย
จนต้องตกอยู่ในสภาพที่เป็นอันตรายกับตัวเองเพราะไม่สามารถรับมือกับภัยเหล่านั้นได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น