วัยรุ่นไทยกับการอ่าน
วัยรุ่นไทยกับการอ่าน
ในปัจจุบันมีวัยรุ่นไทยส่วนมากมองว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องที่ล้าหลัง ไม่ได้ให้ความสำคัญกับหนังสือ ทำให้การอ่านหนังสือลดลงเกือบทุกวัน วัยรุ่นไทยในปัจจุบันซึมซับวัฒนธรรมการอ่านที่ต่างไปจากอดีตมากขึ้น เป็นผลมาจากปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเทคโนโลยี และด้านวิทยาการต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม
และสังคมเป็นอย่างมาก ต่อการอ่าน การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ความเป็นอยู่
การศึกษาและค่านิยมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมรวมทั้งสภาพแวดล้อมในปัจจุบันอีกด้วย
ซึ่งมีสื่อและสิ่งเร้าต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตมากขึ้น เช่น อินเตอร์เน็ต อีเมล์ มือถือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และสามารถสืบค้นหาความรู้จากสื่อนั้นได้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านวิชาการ
บันเทิง หรือประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ทุกคนมีช่องทางในการค้นหาความรู้มากขึ้นเป็นผลให้วัยรุ่นไทยอ่านหนังสือน้อยลงและหันมาศึกษาหาความรู้จากด้านอื่นมากขึ้น
เพราะมีความสะดวกสบาย และประหยัดเวลา
นอกจากนี้การที่วัยรุ่นไทยอ่านหนังสือน้อยลงยังเป็นผลมาจากการที่ถูกสิ่งต่างๆ
ที่น่าดึงดูดและน่าสนใจกว่า เช่น โลกอินเตอร์เน็ต เนื่องจากการมีค่านิยมที่ผิดๆ
คือ การที่คิดว่าการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ล้าสมัย การใช้เวลาว่างที่ไม่ถูกต้องในทุกทุกวัน เสพติดโลกโซเชียลในการใช้ชีวิตประจำวัน
ที่เรียกกันว่า “สังคมก้มหน้า” หมกมุ่นก้มหน้าก้มตาและจดจ่ออยู่กับการเสพข่าวสาร
การติดต่อ การพูดคุยกันผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือ ยิ่งทำให้วัยรุ่นไทยอ่านหนังสือน้อยลง
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลเสียต่อตนเองและสังคมไทยในปัจจุบัน การที่มีสิ่งเร้าทำให้วัยรุ่นไทยทั่วทุกภาคของประเทศอ่านหนังสือลดลง
และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ทำให้วัยรุ่นไทยไม่มีนิสัยรักการอ่านทำให้ศักยภาพของการศึกษาและคุณภาพของวัยรุ่นไทยต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
การอ่านเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่สามารถช่วยให้สังคมไทย พัฒนาไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การอ่านนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ในทุกๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการคิด
หรือกระทำสิ่งใดนั้น ย่อมต้องอาศัยการอ่านเป็นสำคัญ
วัยรุ่นไทยจัดว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการอ่านเป็นอย่างดี
เพื่อที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ความเป็นสากลมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้มีสื่อหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่มีประโยชน์
และเพื่อความบันเทิง วัยรุ่นไทยสามารถที่จะเลือกอ่านในสิ่งที่ตนเองชอบ และสนใจได้อย่างกว้างขวาง
สื่อที่วัยรุ่นไทยเลือกอ่านนั้น ส่วนใหญ่มักเป็นสื่อ ประเภทบันเทิง ฉาบฉวย และหวือหวา
ซึ่งสารบางอย่างที่มาจากสื่อออนไลน์มักไม่ได้รับการคัดกรองที่ถ้วนถี่
และข้อมูลไม่น่าเชื่อถือเพียงพอ หากหาข้อมูลที่ถูกต้องก็คงเป็นพวกข้อมูลจากเว็บไซต์เฉพาะทางที่เชื่อถือได้จริง
ซึ่งในมุมของการศึกษา การทำงานส่งครูผู้สอนของวัยรุ่นไทยโดยเฉพาะช่วงมัธยมศึกษา มักคุ้นเคยกับการหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมากกว่าการค้นคว้าจากหนังสือ
ชินกับการคัดลอกสำเนาข้อมูลเพื่อทำรายงาน โดยไม่เคยตรวจสอบว่า ข้อมูลที่คัดลอกมา
จริงเท็จประการใด เพียงแต่สะดวก รวดเร็ว เท่านั้น ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับหนังสือ มีข้อมูลที่ชัดเจน
แน่นอน เฉพาะเรื่อง ซึ่งกว่าจะตีพิมพ์ออกมาได้หนึ่งเล่ม
จำต้องตรวจสอบความถูกต้องในเล่มแล้ว ผู้เขียนอยากให้วัยรุ่นไทย เห็นถึงความสำคัญ กระบวนการอ่าน
และประโยชน์ของการอ่านหนังสือ มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับอ่าน โดยจะนำเสนอข้อมูลในเรื่องการอ่านดังต่อไปนี้
จุดประสงค์สำคัญการอ่าน
โดยทั่วไป
เป็นการอ่านเพื่อเก็บความรู้
อ่านเพื่อจดจำเอาสาระสำคัญต่างๆมารวบรวมกันไว้เป็นความรู้รอบตัว
เพื่อจะสามารถนำไปใช้ได้ในโอกาสต่างๆ การอ่านเพื่อวิเคราะห์ คือ
การอ่านโดยพิจารณาส่วนต่างๆ ของบทเพื่อให้เกิด
ความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนต้องอ่าน ซ้ำหลายๆครั้ง
เหล่านี้มักใช้ในการอ่านหนังสือเชิงวิชาการ
การอ่านเพื่อตีความ เมื่ออ่านรู้เรื่องแล้วก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตีความ
การตีความนั้นมักเป็นไปตามประสบการณ์ และ ความรู้สึกของผู้อ่านแต่ละคน
เมื่ออ่านได้ตามจุดประสงค์สำคัญดังกล่าวแล้ว
ก็ยังจะต้องมีการประเมินค่าในสิ่งที่อ่านด้วย การประเมินค่า คือ
การชี้แจงบอกกล่าวว่าสิ่งไหนมีความดีด้านใด บกพร่องในด้านใด สำหรับการประเมินค่าต้องพิจารณารูปแบบสื่อที่อ่านนั้นให้ดีเสียก่อน
แล้วจึงพิจารณาว่า จุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ของสื่อนั้นคืออะไร
เมื่อจะประเมินค่าสิ่งที่ได้อ่าน ต้องพิจารณารูปแบบ และจุดประสงค์ในการผลิต
การประเมินค่าของเราไม่คำนึงว่าจะถูกต้องหรือไม่ ตรงกับความคิดเห็นของใคร
และควรพิจารณาส่วนต่างๆ ของสื่อที่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน
ความสำคัญของการอ่าน
การอ่านนั้นเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการศึกษาเล่าเรียนทุกระดับ
ผู้เรียนเป็นที่จะต้องอาศัยทักษะการอ่านทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของวิชาการต่างๆ
เพื่อให้ตนเองได้รับความรู้และประสบการณ์ตามที่ต้องการ ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไป
คนเราต้องอาศัยการอ่านติดต่อสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นร่วมไปกับทักษะการฟัง
การพูด และการเขียน ทั้งในด้านภารกิจส่วนตัวและการประกอบอาชีพการงานต่าง ๆ ในสังคม
ซึ่งการอ่านช่วยให้วัยรุ่นไทยสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากสิ่งที่อ่านไปปรับปรุง
และพัฒนาอาชีพหรือธุรกิจการงานที่ตนเองกระทำอยู่ให้เจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
การอ่านสามารถสนองความต้องการพื้นฐานของบุคคลในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น
ช่วยให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ ช่วยให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
ช่วยให้มีเกียรติยศและชื่อเสียง ฯลฯ
ลักษณะกระบวนการอ่าน
ประกอบไปด้วยองค์ประกอบอย่างน้อย
3 ประการ ได้แก่ การรับรู้ การตีความ และการตอบสนอง
จึงจะทำให้ลักษณะกระบวนการอ่านดำเนินไปได้ครบวงจรและสามารถสื่อความหมายได้ตามที่ต้องการ การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
การอ่านแต่ละครั้งจะมีความมุ่งหมายแตกต่างกันออกไป
หากวัยรุ่นไทยตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านแต่ละครั้งไว้
จะช่วยให้การอ่านมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถนำไปใช้กับหน้าที่การงานและการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดีการอ่านเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้และเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
การคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ประสบการณ์แก่ผู้อ่าน การอ่านที่มีประสิทธิภาพ
ผู้อ่านจำเป็นจะต้องเข้าใจจุดมุ่งหมาย และความนึกคิดของผู้เขียน
สามารถจับใจความสำคัญจากเนื้อหาที่อ่าน สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้
สามารถนำความรู้และความคิดที่ได้รับจากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ความสามารถในการอ่านนับเป็นทักษะที่สำคัญในการศึกษาทุกระดับ
เพราะในการเรียนวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนก็ตาม
ล้วนแต่ต้องใช้ทักษะการอ่านเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้
การอ่านมีความสำคัญอย่างมากในฐานะเครื่องมือในการรับและส่งสาร
ประโยชน์ของการอ่าน
1.
การอ่านเพิ่มพูนสติปัญญา
ดร.ซุยส์
(นักเขียนหนังสือเด็กชื่อดัง) เคยกล่าวว่า “ยิ่งคุณอ่านมาก
คุณก็จะยิ่งรู้จักสิ่งต่าง ๆ มาก และยิ่งคุณเรียนรู้มาก
คุณก็จะยิ่งมีความก้าวหน้ามากตามไปด้วย” การอ่านหนังสือดี ๆ
นั้นเป็นการเปิดโลกกว้างแห่งสารพันความรู้ตั้งแต่คนเราอายุยังน้อย
2.
การอ่านสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของสมอง
การอ่านหนังสือเป็นประจำไม่เพียงแต่จะทำให้ฉลาดเฉลียวขึ้นเท่านั้น
แต่มันยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของสมองได้ เพิ่มประสิทธิภาพด้านความจำของด้วยการกระตุ้นการทำงานของสมองในแบบเดียวกับที่การวิ่งช่วยให้การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้นนั่นเอง
3.
การอ่านช่วยให้มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น
บทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสาร
Science
กล่าวว่าการอ่านหนังสือโดยเฉพาะนิยายที่เกี่ยวกับอารมณ์ของผู้อื่นนั้นจะสามารถทำให้เราเข้าใจได้ว่าผู้อื่นคิดอะไรอยู่ เดวิด คัมเมอร์ คิดด์ และ เอ็มมานูเอล คาสตาโน
รายงานว่า
“ความสามารถเข้าใจจิตใจของผู้อื่นนั้นเป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถมีความสัมพันธ์ทางสังคมอันซับซ้อน
ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมมนุษย์ได้”
4.
การพลิกเปลี่ยนหน้านั้นสามารถช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังอ่านอยู่ได้ดีขึ้น
การอ่านหนังสือเล่มจะดีกว่าการอ่าน
e-book
นิตยสาร Wired รายงานว่า การที่นิ้วต่าง ๆ
ของเราสามารถสัมผัสกระดาษได้นั้นมอบบริบทบางอย่างที่นำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นและดีขึ้นในเรื่องที่กำลังอ่านอยู่
ดังนั้นถ้าต้องการจะได้รับประโยชน์จากการอ่านอะไรดี ๆ ควรเลือกอ่านแบบเป็นเล่มแทนการอ่านผ่านหน้าจอ
5.
การอ่านอาจช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์
การอ่านหนังสือนั้นทำให้สมองได้ทำงาน
บุคคลที่ใช้สมองทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเช่น
อ่านหนังสือ เล่นหมากรุก หรือแก้ปริศนาอักษรไขว้
จะมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่าผู้ที่ใช้เวลาพักผ่อนทำกิจกรรมที่เฉื่อยชา
6.
การอ่านช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ในปี
2009 ระบุว่าการอ่านหนังสือนั้นสามารถลดความเครียดได้มากถึง 68%
เดวิด
ลูอิส นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาการรับรู้ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The
Telegraph ว่า “มันไม่จำเป็นหรอกครับว่าคุณอ่านหนังสืออะไร เพียงแค่คุณหลุดเข้าไปในหนังสือที่น่าสนใจมาก
ๆ
คุณก็สามารถจะหนีจากความกังวลและความเครียดในชีวิตประจำวันโดยการเข้าไปท่องเที่ยวในโลกแห่งจินตนาการของผู้แต่งได้แล้ว”
7.
การอ่านหนังสือก่อนนอนสามารถช่วยการนอนหลับได้
โรงพยาบาลชื่อดัง
มาโย คลินิก กล่าวว่า การสร้างธรรมเนียมปฏิบัติก่อนนอนอย่างเช่นการอ่านหนังสือนั้นเป็นการส่งสัญญาณไปยังร่างกายของคุณว่าถึงเวลาที่จะพักผ่อนนอนหลับได้แล้ว
คุณสมบัติของนักอ่านที่ดี
1. มีความสนใจในการอ่านหนังสือ
หัดนิสัยให้รักการอ่านหนังสือจนเป็นกิจวัตรประจำวัน อ่านหนังสือสม่ำเสมอทุกวันอย่างมีความสุข อ่านติดต่อกันเป็นเวลานานได้ อ่านหนังสือได้ทุกประเภทของนักเขียนทุกคน และไม่ว่าจะเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่ก็ตาม
2. รู้จักวิธีการอ่าน หนังสือให้ได้เร็ว
3. มีประสบการณ์
เพียงพอที่จะเข้าใจและซาบซึ้งกับความหมายของเนื้อเรื่อง
4. ติดตามความเคลื่อนไหวทางวิทยาการต่างๆ และติดตามวงการหนังสืออยู่เสมอ มีความรู้เรื่องหนังสือ รู้จักลักษณะและประเภทของหนังสือ
สามารถจะเลือกหนังสือได้ตรงกับความต้องการและความสนใจได้
5. มีวิจารณญาณในการอ่าน คือ
อ่านอย่างไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ และเป็นการเชื่ออย่างมีเหตุผล มีใจกว้างในการรับฟัง
จากที่ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนอยากให้วัยรุ่นไทย
ที่กำลังศึกษาเพื่อที่จะไปเป็นกำลังของชาติ หันมาให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือ การอ่านทั้งหลายจะส่งเสริมให้ได้ขยายความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้นอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง
ทำให้เป็นผู้รอบรู้ เกิดความมั่นใจในการพูดปราศรัย การบรรยายหรือ
การอภิปรายปัญหาต่าง ๆ นับว่าเป็นการเพิ่มบุคลิกภาพ และความน่าเชื่อถือให้แก่ตนเอง
การอ่านหนังสือหรือสิ่งพิมพ์หลายชนิดนับว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการที่น่าสนใจมาก
เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร จดหมาย หนังสือการ์ตูน ฯลฯ
เป็นการช่วยรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
และเกิดความเพลิดเพลินสนุกสนานได้เป็นอย่างดี การอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีต เช่น
วรรณคดี ประวัติศาสตร์ เอกสารสำคัญ ฯลฯ
ก็จะช่วยให้วัยรุ่นไทยรู้จัก
และได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยเอาไว้
และสามารถพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปได้เป็นอย่างดี
การอ่านนั้นมีความสำคัญต่อวัยรุ่นไทยเป็นอย่างสูง
เพราะการเรียน การงานและการดำรงชีวิตของวัยรุ่นนั้น
ล้วนเกี่ยวข้องกับการอ่านเป็นอย่างมาก วัยรุ่นไทยในปัจจุบันมีความคิด ความสามารถที่ต่างไปจากอดีต
ทั้งในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นตัวของตัวเอง ความคิดที่เป็นอิสระ
ชีวิตของวัยรุ่นไทยจะสามารถพัฒนาไปในทางที่ดีได้
ก็ต่อเมื่อวัยรุ่นไทยมีความรู้ความสามารถในการอ่านเป็นอย่างดี
โดยวัยรุ่นไทยเองก็จะต้องศึกษาค้นคว้าและฝึกฝนทักษะในการอ่านด้วย
เช่นเดียวกับการพัฒนาประเทศชาติ
ผู้ที่จะเข้ามาพัฒนาประเทศชาติเองก็จะต้องมีความรู้ความสามารถ
ในการอ่านเป็นอย่างดี และผู้ที่จะเข้ามาพัฒนาประเทศชาติในกาลต่อไปนั้นก็ไม่ใช่ใครอื่น
หากแต่เป็นวัยรุ่นไทยนั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น